แนะนำภาษาซี 1

ภาษา C     
  ผมขอ แนะนำภาษาC หน่อยนะครับ เนื่องจากถ้าเราอยากจะศึกษาเกียวกับการเขียนโปรแกรมต่างๆ ผมอยากให้ผู้อ่านได้ทำความเข้าใจกับ ภาษาc ก่อนเพราะด้านโครงสร้างของภาษาโปรแกรมต่างๆจะออกรูปแบบค่ายกับภาษาซี ซะส่วนใหญ่ เรียกว่าหลักการพื้นฐานเลยก็ว่าได้ เช่น php C++ เป็นต้น
 
 
 ประว้ติความเป็นมา ในปี ค.ศ. 1972 Dennis Ritchie เป็นผู้คิดค้นสร้างภาษา ซี เป็นครั้งแรก โดยพัฒนามาจากภาษา B และ ภาษา BCPL แต่ตอนนั้นภาษา C ยังไม่เป็นนิยมนัก จนเมื่อในปี ค.ศ.1978 Brin Kernigham ได้ร่วมกับ Dennis Ritchie พัฒนามาตรฐานของภาษาซีขึ้น เรียกว่า K&R(Kernigham & Ritchie) และได้เขียนหนังสือชื่อว่า “The C Programming Language” ออกเป็นเล่มแรก ทำให้มีผู้เริ่มสนใจภาษษซีมากขึ้น และด้วยความยืดหยุ่นของภาษาซีที่สามารถปรับการใช้งานกับคอมพิวเตอร์ชนิดต่างๆได้ ทำให้ภาษาซีได้รับความนิยมเพิมขึ้นเรื่อยๆจนแพร่หลายไปทั้วโลกจนมีบริษัทต่างๆสร้างและผลิตภาษาซี ออกมาเป็นจำนวนมาก เกิดเป็นภาษาซีในหลายรูปแบบ เนื่องจากในขณะนั้นยังไม่มีการกำหนดมาตรฐานสำหร้บการสร้างภาษาC ดังนั้นในปี 1988 Ritchie และ Kernigham จึงได้ร่วมกับ ANSI(American Nationl Standards Institute) สร้างมาตรฐานของภาษาซีขึ้นเรียกว่า ANSI C เพื่อเป็นตัวกำหนดมาตรฐานในภาษาซีรุ่นต่อๆไป ในปัจจุบันภาษาCยังด้รับความนิยมอย่างกว้างขวาง เนื่องจากเป็นภาษาระดับกลาง (middle – level language) ที่เหมาะกับการเขียนโปรแกรมแบบโครงสร้าง(structured programming) และเป็นภาษาที่มีความยืดหยุ่นมาก คือใช้งานกับเครื่องต่างๆได้ และที่สำคัญ ภาษารุ่นใหม่ เช่น C++,C#,java,Perl, ฯลฯ ยังใช้หลักการของภาษาซีเป็นพื้นฐานอีกด้วย หากมี พื้นฐานภาาษาซีก่อนที่จะไปศึกษาภาษารุ่นใหม่ก็จะทำให้เข้าใจง่ายขึ้น
ขั้นตอนพัฒนาโปรแกรมภาษาซี
         ขั้นที่1 เขียนโปรแกรม(source code):ใช้ editer เขียนโปรแกรมภาษาซี แลัวทำการบัญทึกไฟล์ให้มีนามสกุลเป็น .c เช่น ex.c เป็นต้น *editer คือโปรแกรมที่ใช้สำหรับเขียนโปรแกรม เช่น Notepad,EditของDos,เป็นต้น
         ขั้น2 คอมไพล์โปรแกรม(compile): นำ source code ที่ได้จากข้อ1มาทำการ compile เพื่อแปลจากภาษาซี ที่ มนุษย์เข้าใจไปเป็นภาษาเครื่องทีคอมพิวเตอร์เข้าใจในขั้นนี้ Compileจะทำการตรวจสอบ source code ว่าเกิดการผิดพลาดหรือไม่
  • หากเกิดข้อผิดพลาด จะแจ้งให้ผู้เขียนโปรแกรมทราบแล้วจึงกลับไปแก้ไขโปรแกรมแล้วทำcompileใหม่อีกครั้ง
  • หากไม่พบข้อผิดพลาดcompileจะแปลsource codeจากภาษาซีไปเป็นภาษาเครื่องหรือเป็นการเปลียนประเภทไฟล์โปรแกรมนั้นเองเช่นท่าไฟล์นี้มีชื่อว่าex.c ก็จะเป็น ex.obj
*การแปลภาษาโปรแกรมไปเป็นภาษาเครื่องมีอยู่2วิธี :
  • compiler:จะมีรูปแบบการแปลแบบว่าอ่านcodeทั้งหมดแล้วแปลภายในครั้งเดียว
  • interpreterจะมีรูปแบบ อ่าน code และแปล ทีละบรรทัด คือ ถ้าบรรทัดแรกไม่เกิดerrorก็จะทำต่อไปจนจบ program
ข้อดีและข้อเสียของตัวแปลภาษาทั้ง2แบบ
  ข้อดี ข้อเสีย
compiler
  • ทำงานได้เร็ว เนื่องจากทำการแปลผลทีเดียวแล้วจึงทำงานตามคำสั่งโปรแกรมทีหลัง
  • เมือทำการแปลผลแล้วครั้งต่อไปไม่จำเป็นต้องแปลผลใหม่อีกเนื่องจากภาษาเครื่องที่แปลได้จะถูกเก็บไว้ที่หน่วยความจำสามารถเรียกใช้ได้ทันที่
    • เมื่อเกิดข่อผิดพลาดขึ้นกับโปรแกรมจะตรวจสอบหาข้อผิดพลาดได้ยาก
    interpreter
    • หาข้อผิดพลาดของโปรแกรมได้ง่าย
    • สามารถสั่งให้แปลเฉพาะจุดได้
    • ไม่เสียเวลารอการแปลเป็นเวลานาน
    • ช้าเนื่องจากทำงานที่ละบรรทัด
    ขั้นที่3 การเชื่อมโยงโปรแกรม(like): จากขั้นที่2 เรายังไม่สามารถนำไฟล์โปรแกรมที่เราเขียนไปใช้งานยังไม่ได้ เราต้องนำมันไปเชื่อมโยง(link)เข้ากับ library ซึ่งผลจากการเชื่อมโยงจะทำให้ได้ executable program( file นามสกุล .exe เช่น ex.exe ) ทีสามารถใช้งานได้ ขั้น4 ประมวลผล เมื่อนำ executable program จากขั้น3 มาประมวลผลลัพธ์ (output) ของโปรแกรมออกมา  ภาษา Cผมขออนุญาติจบการแนะนำแค่นี้ก่อนเดียวบทความจะยาวเกินไปจนน่าเบื่อ ใครที่ชอบก็ช่วยแชร์หน่อยนะครับ ติดตามต่อได้ในบทต่อไปในบท แนะนำภาษาซี

    0 ความคิดเห็น:

    แสดงความคิดเห็น